วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2556

นกน้ำ...บึงบอระเพ็ด



รายการนักทุ่งเที่ยว  ตอนช่วยนกน้ำบึงบอระเพ็ด
http://www.facebook.com/naktungteaw




ปริมาณน้ำในช่วงเดือน มี.ค-ก.ค จะลดลงอย่างมากในทุกปี   

หน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ดถ้าเป็นช่วงหน้าฝนน้ำจะท่วมเต็มพื้นที่..แต่ตอนนี้จะเป็นที่ลุ่มกับคลองเล็ก


 น้ำลดเป็นสวรรค์ของนกนานาชนิดที่หาสัตว์น้ำเล็กๆกิน




โดยเฉพาะฝูงนกปากห่าง






ตรงจุดนี้อยู่กลางบึงบอระเพ็ดเลย น้ำแห้งจนเป็นสันทราย  เรือยนต์แล่นไม่ได้น้ำลึกไม่ถึงหัวเข่า












เก็บหัวบัว

พื้นที่กว่าร้อยไร่ที่เคยเป็นบึงบัวแดง..น้ำแห้งจนบัวตายหมด  แต่พอหน้าน้ำบัวก็จะงอกขึ้นมาใหม่

สองคนตา ยาย ขุดเก็บหัวบัวไปขาย มีคนมารับซื้อต่อไปขายส่งถึงเชียงราย ไปขายถึงจีน


ในมือแกคือหัวบัว ขายหัวละ 35 สตางค์ถึง 1 บาท กระสอบที่แกแบกอยู่ปรมาณ400 หัว วันวันแกเก็บได้ปรมาณ 4 กระสอบ...รายได้ดีเลย


เครื่องมือจับปลา ที่ชาวบ้านเรียกว่า  ลอบยืน  ที่ทำจากกิ่งไม้ และตัวลอบหุ้มด้วยไม้ไผ่ที่ถักด้วยเชือก มีลักษณะเหมือนกับทรงขวดที่วางตั้งไว้ เมื่อวางตั้งแล้วจะสูงท่วมหัวคน  ใช้จับปลา ในน้ำลึก   


ตอนนี้น้ำแห้งไม่สามารถใช้จับปลาอะไรได้  และถูกทิ้งไว้ในบึงจำนวนหลายร้อยอัน  จนกลายเป็นปัญหาสำหรับนกน้ำนานาชนิดที่ออกหากินจับ พืช และสัตว์น้ำเล็กๆ เข้าไปติดในลอบ







พี่เงาะกับพี่ไฝซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของเขตห้ามล่าสัตว์ป่า บึงบอระเพ็ด ที่ตระเวนตรวจตราและช่วยเหลือนกที่ติดในลอบ 


นกตัวแรกที่พบคือ นกอีแจว Hydrophasianus chirurgus (Pheasant-tailed Jacana)
   ได้ชื่อว่าเป็นราชินีนกน้ำเพราะรูปร่างหน้าตาที่สวยงาม เหตุได้ชื่อว่าอีแจวเพราะเมื่อนกตัวเมียวางไข่แล้วก็จะแจวจากไปหาคู่ใหม่ และปล่อยให้นกตัวผู้กกไข่และเลี้ยงลูกไปตามลำพัง  นกอีแจวตัวเมียวางไข่ซึ่งมีประมาณครอกละ4ฟองแล้วก็จะไปจับคู่กับนกตัวผู้ตัวใหม่เพื่อวางไข่ครอกต่อไปการที่นกต้องมีพฤติกรรมเช่นนี้เพราะว่าไข่ที่ถูกวางไปแต่ละรุ่นนั้นมีอัตราการรอดชีวิตจนโตน้อยเนื่องจากสภาพแวดล้อมเช่นภาวะน้ำท่วมและสัตว์ศัตรูเช่นงูน้ำ นกใหญ่ ที่จะมาทำลายไข่ ทำให้แม่นกต้องลดเวลาที่ต้องใช้ในการกกไข่ลง    เพื่อผลิตไข่เพิ่มเติมแทน 
พ่อนกอีแจวเป็นพ่อที่ทุ่มเทให้กับการเลี้ยงลูกมาก บางครั้งก็แกล้งทำปีกหักหรือแกล้งกกไข่ในที่ที่ไม่มีไข่เพื่อให้ศัตรูมาสนใจตัวเองแทนลูกๆ นอกจากนี้ยังมีเสียงร้องระวังภัยสำหรับเรียกลูกๆกลับมาซุกใต้ปีกหรือให้ไปหลบตามกอพืชน้ำ หรือดำน้ำหลบ และเมื่อปลอดภัยก็ส่งเสียงบอกลูกๆให้โผล่ขึ้นม




ช่วยออกมาทีแรกอ่อนแรงมาก พอผ่านไปซักพักก็แข็งแรงดี







นกพริก ชื่อสามัญ Bronze-winged Jacana
ชื่อวิทยาศาสตร์ Metopedius indicus. (Latham)
ตัวผู้และตัวเมียคล้ายกัน แต่ตัวเมียโตกว่าตัวผู้ โคนปากและแผ่นเนื้อหน้าผากสีแดง คล้ายกับคาบพริกไว้ นิ้วตีนและเล็บยาวมากกว่าขาของตัวเอง จึงทำให้เดินบนจอกแหนไม่จม เวลาเดินจะกระดกหางขึ้นเป็นจังหวะเรื่อยไป ชอบอยู่ตามหนองบึงทั่วไป ชอบเดินหากินบนจอกแหน อาหาร คือ ลูกกุ้ง ลูกปลา แมลง หน่อหรือต้นอ่อนของพืชน้ำ ผสมพันธุ์ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน ทำรังด้วยใบจอกแหน บนแพจอกแหนที่ลอยอยู่ในหนองบึง 





นกเอี้ยงโครง





 นกอีโก้ง Porphyrio porphyrio (Purple Swamphen) เป็นนกในวงศ์นกอัญชัน ฉายาแม่ไก่สีม่วง
รูปร่างของนกชนิดนี้จึงคล้ายกับนกอื่นๆในวงศ์นี้เช่นนกพริก นกกวัก นกอัญชันต่างๆ แต่มีตัวใหญ่มากคือมีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางราว 43-44 เซ็นติเมตร จุดเด่นคือขนคลุมลำตัวมีสีฟ้าและม่วงสดใส หางสั้นจนดูเหมือนไม่มีหาง ขนคลุมหางด้านล่างสีขาวตัดกับสีตัว มีตา ปาก กระบังหน้าและเท้าสีแดง ซึ่งความสดใสเข้มอ่อนของสีขนจะแตกต่างกันไปตามแต่นกแต่ละตัว นกตัวผู้และตัวเมียเหมือนกัน นกไม่เต็มวัยอาจมีสีทึมกว่าตัวเต็มวัยและปากสีไม่แดง นกเด็กมีขนอุยสีดำปกคลุมลำตัว ขาและนิ้วเท้ายาวเพื่อความถนัดในการเดินบนพืชน้ำเช่นเดียวกับนกผู้ใหญ่ 
 นอกจากพืชแล้ว นกอีโก้งยังกินแมลงเล็กๆในน้ำ กบ เขียด อึ่งอ่าง หอยโข่ง หอยเชอรี่ หรือแม้แต่ไข่ของนกอื่นๆ ในการกินหอย นกจะใช้ปากหักเปลือกหอยจนแตกแล้วดึงเนื้อมากินทีละชิ้นจนหมด

นกอีโก้งเป็นนกประจำถิ่นของไทย พบมากในที่ราบลุ่มภาคกลาง ตามแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่เช่นบึงบอระเพ็ด และพบกระจายตามแหล่งน้ำจืดต่างๆ ไปจนถึงระดับความสูงประมาณ 1,000 เมตร
นกอีโก้งกินทั้งพืชและสัตว์ กินพืชน้ำ รากบัวหลวง รากจอกหูหนู สายบัว ต้นแพงพวยน้ำ ไส้ในหรือต้นอ่อนของกก จูด และข้าว เมล็ดพืช ผลไม้ หอย แมลงต่างๆ กบ เขียด อึ่งอ่าง หอยโข่ง หอยเชอรี่ รวมทั้งชอบขโมยไข่นกอื่นและลูกนกกินด้วย  นกอีโก้งหากินได้ทั้งวันและจะหลับนอนบนต้นไม้ที่สูงเล็กน้อยในตอนพลบค่ำ

ติดอยู่ในลอบและจมอยู่ในโคลนทั้งคืน..จากสีสวยเป็นสีโทรมเลย


นกอีโก้ง Porphyrio porphyrio (Purple Swamphen) เป็นนกในวงศ์นกอัญชัน ฉายาแม่ไก่สีม่วง



 ลูกนกยางไฟธรรมดา
ชื่อสามัญ Cinnamon Bittern
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ixobrychus cinnamomeus
วงศ์ Ardeidae
ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้และตัวเมียไม่เหมือนกัน ตัวผู้ส่วนบนของหัว คอ หลังและปีกมีสีน้ำตาลแกมแดงแก่ ขนทางด้านล่างของตัวมีสีอ่อนกว่าทางด้านบนตัว หางสั้นมากจนดูคล้ายกับไม่มีหาง ส่วนตัวเมีย มีสีแดงน้อยกว่าตัวผู้ หลังมีสีน้ำตาลแก่แกมแดง บนหัวมีสีแดงค่อนข้างดำ ใต้คางและและใต้คอมีสีน้ำตาลแดงอ่อน ปีกมีลายเป็นจุดกลมๆสีน้ำตาลอยู่ทั่วไป มีลายเป็นเส้นเล็กๆ สีน้ำตาลแก่อยู่ทั่วอกและท้อง ลักษณะรังอยู่ตามกอหญ้ารก มีหญ้ามารองเป็นรูปถ้วย มีสัญชาติญาณในการระวังภัยสูง


ก่อนกลับยังพบบัวแดงสวยๆอีกเยอะเลย




ขอขอบคุณ
คุณดุสิต อาทิตยวาร    หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด
คุณบุญมี  วัดพ่วงแก้ว(พี่เงาะ) พนักงานราชการ
คุณบุญสม  ชื่อชูจิต(พี่ไฝ) เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เขตฯ











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น